เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถอ่านเรื่องราว
เข้าใจความหมายของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน
อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล สามารถอธิบายและใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคเขียนเรื่องสร้างสรรค์ได้มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๒
๑๑ -
๑๕
ส.ค.
๒๕๕๗
|
โจทย์ :
-
มนุษย์สองหน้า หน้า ๓๑- ๖๕
- การเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์
Key Question
คนดีต้องเป็นอย่างไร
?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน สนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- วรรณกรรมเรื่องมนุษย์สองหน้า
-
อินเทอร์เน็ต
|
เชื่อม
ทบทวนเรื่องมนุษย์สองหน้าตอนที่อ่านผ่านมาแล้ว
โดยนักเรียนร่วมกันเล่าเรื่องย้อนกลับ
ชง
นักเรียนอ่าน มนุษย์สองหน้า หน้า ๓๑- ๖๕ โดยอ่านเสียง
(อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ :
สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่
เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ :
แต่งเรื่องใหม่ แต่งตอนจบใหม่
วาดภาพประกอบ ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดเห็นอย่างไรกับคำว่าเป็นมนุษย์สองหน้า ?”
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ชง
- ครูให้ติดรูปภาพบนกระดานแล้วให้นักเรียนพูดบรรยายความรู้สึกจากภาพที่เห็นทีละคน
- ให้นักเรียนเขียนบรรยายความรู้สึกตามรูปที่ครูแจกให้(
รูปที่แจกให้แตกต่างกันไป)
เชื่อม
- นักเรียนพูดนำเสนอเรื่องที่เขียน
- นักเรียนศึกษาเรื่องหลักการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ใช้
- ครูให้นักเรียนเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบของตนเองอย่างน้อย ๑
หน้ากระดาษ A4 แล้ววาดภาพประกอบให้สวยงาม
เชื่อม
- นักเรียนนำเสนอผลงาน
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนผลงานของเพื่อนแต่ละคน |
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร
แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-
การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การเล่าเรื่องย้อนกลับ
- แผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
- การเขียนบรรยายความรู้สึกจากภาพ
- การศึกษาหลักการเขียนงานเชิงสร้างสรรค์
- งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ตามแบบที่ตนเองสนใจ
|
ความรู้ :สามารถอธิบายและใช้
ใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคเขียนเรื่องสร้างสรรค์ได้
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะICT
การศึกษาและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนงานเชิงสร้างสรรค์
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
-
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
-
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น |
สัปดาห์นี้พี่.3 ได้ร่วมกันวิเคราะห์ลักษณะของตัวละคร และวิจารณ์ตัวละครเป็นอย่างไร ทุกคนสามารถที่จะเข้าใจความเป็นไปของความคิดของตัวละครเด่นๆได้ จากนั้นคุณครูได้ลองให้พี่ๆบอกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านเท่าที่อ่านผ่านมาแล้ว พี่ๆได้ข้อคิดหรือเรียนรู้อะไร จากนั้นคุณครูและพี่ม.3 ก็ได้ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับงานเขียนเชิงสร้างสรรค์และพี่ๆก็ได้ศึกษาเกี่ยวกับหลักการเขียนเชิงสร้างสรรค์ว่าเป็นอย่างไร และเขียนในรูปแบบใดได้บ้าง และคุณครูก็ได้ให้พี่ๆทุกคนเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบการเขียนเรียงความ แต่ให้นำสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ และข้อคิดจากเรื่องมนุษย์สองหน้าเท่าที่อ่านมานั้นมาเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์ดูค่ะ สัปดาห์หน้าเราจะมาสะท้อนผลงาน การเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์ของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไรค่ะ
ตอบลบ