เป้าหมาย

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

Week7


หน่วยการเรียนรู้ : กวีนิพนธ์ ณ ริมธารแห่งกาลภาพ
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถอ่านเรื่องราว เข้าใจความหมายของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล   สามารถอธิบายหลักการใช้โวหารและภาพพจน์ ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทใน การพูดและฟัง  



Week

Input

Process

Output

Outcome

๑๕ ๑๙
..
๒๕๕๗

โจทย์ :
 - กวีนิพนธ์ ณ ริมธารแห่งกาลภพ
ตอน ณ ริมธารฝากฝั่งภพ
- โวหาร ภาพพจน์

Key  Questions
- ณ ริมธารฝากฝั่งภพ นักเรียนอ่านแล้วเข้าใจว่าอย่างไร?
- คำโวหาร ภาพพจน์มีความสำคัญอย่างไร?

เครื่องมือคิด
 Brainstoms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านและฟัง และการวิเคราะห์ความหมายของคำและประโยคต่างๆ
Show and Share : การนำเสนอชิ้นงาน
Mind Mapping: การเขียนสรุปเรื่องโวหาร ภาพพจน์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- กวีนิพนธ์ ณ ริมธารแห่งกาลภาพ
ตอน ณ ริมธารฝากฝั่งภพ
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
ชง
ครูแนะนำหนังสือ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ ณ ริมธารแห่งกาลภพ” เมื่อได้ยินประโยคนี้แล้วนักเรียนนึกถึงอะไร?”
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นของตนเอง
ชง
ครูให้นักเรียนอ่าน กวีนิพนธ์ ณ ริมธารแห่งกาลภพ
ตอน ณ ริมธารฝากฝั่งภพ (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
 สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปโดยวาดภาพประกอบเรื่อง
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอภาพวาดของตนเองเกี่ยวกับมุมมอง และความเข้าใจเกี่ยวกับบทกวีที่ได้อ่าน
- ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
ชง
ครูใช้คำถาม” นักเรียนว่าสิ่งที่นักเรียนอธิบายและเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนั้นคืออะไร ?
เชื่อม
 นักเรียนศึกษาเรื่องภาพพจน์ ( คำอุปมาอุปไมย อุปลักษณ์  สัญลักษณ์ นามนัย )แล้วเขียนสรุปในสมุดงาน
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปการศึกษาเรื่องภาพพจน์ในรูปแบบ Mind Mapping
- นักเรียนแต่งเรื่องสั้นๆโดยใช้คำที่ทำให้เห็นภาพพจน์และผู้อื่นเข้าใจได้ในรูปแบบการ์ตูนช่อง
เชื่อม
- นักเรียนนำเสนอผลงาน
- ครูและเพื่อนร่วมวิจารณ์งานเขียนร่วมกันทั้งสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปเรื่องที่อ่านโดยวาดภาพประกอบเรื่อง
- การร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้คำต่างๆที่สื่อความหมายของบทกวี
- Mind Mappingสรุปการศึกษาเรื่องภาพพจน์
- งานเขียนที่ใช้คำเพื่อมองให้เห็นภาพพจน์( การ์ตูนช่อง )

ความรู้ :เข้าใจหลักการใช้ โวหารและภาพพจน์ ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ฃทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของคำต่างๆและอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
 ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภาพพจน์
( คำอุปมาอุปไมย อุปลักษณ์  สัญลักษณ์ นามนัย )
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ ณ ริมธารแห่งกาลภพ” เมื่อได้ยินประโยคนี้แล้วนักเรียนนึกถึงอะไร?” จากนั้นก็อ่านกวีนิพนธ์ ณ ริมธารแห่งกาลภพ
    ตอน ณ ริมธารฝากฝั่งภพ และสรุปความเข้าใจในรูปแบบภาพวาดประกอบ ครูให้พี่ๆศึกษาเรื่องโวหาร ภาพพจน์และนำเสนอร่วมกันอีกครั้ง และคุณครูได้ให้พี่ๆฟังเพลงต่างๆและให้ช่วยกันบอกว่าเนื้อเพลงแต่ละเพลงใช้คำโวหาร ภาพพจน์ ประเภทใด พร้อมบอกเหตุผลประกอบ และเพื่อให้พี่ๆเข้าใจในเรื่องที่ศึกษามากขึ้น คุณครูจึงให้พี่ๆแต่ละคนแต่งเพลงเองโดยเลือกโวหาร ภาพพจน์ตามที่ตนเองสนใจ ซึ่งพี่สามารถแต่งเพลงและนำเสนอโดยการร้องเพลงของตนเองได้ทุกคน ทุกคนกล้าแสดงออกดีมากค่ะ

    ตอบลบ